วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะมีแบบแผนของการตอบสนองการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมต่างๆกัน
การตอบสนองอาจเกิดขึ้นทันทีทันใดหรืออาจเป็นไปอย่างช้าๆ
แต่มีผลทำให้สิ่งมีชีวิตมีการแสดงออกหรือมีพฤติกรรมในลักษณะต่างๆ
ซึ่งมีผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตด้วย
1. ความหมายของพฤติกรรม
พฤติกรรม (Behavior) หมายถึง
กิริยาของสิ่งมีชีวิตที่แสดงออกมาเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นทั้งสิ่งเร้าภายในและสิ่งเร้าภายนอก
สิ่งเร้า (Stimulus) คือ สัญญาณหรือการเปลี่ยนแปลงซึ่งมีผลต่อกิจกรรมของสิ่งมีชีวิต
โดยทั่วๆไปจะแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ
1. สิ่งเร้าภายในร่างกาย ได้แก่ ฮอร์โมน เอนไซม์ ความหิว ความเครียด
ความต้องการทางเพศ เป็นต้น
2. สิ่งเร้าภายนอกร่างกาย ได้แก่ แสง เสียง อุณหภูมิ อาหาร น้ำ การสัมผัส
สารเคมี เป็นต้น
2. กลไกการเกิดพฤติกรรม
ระบบไหลเวียนโลหิต เป็นระบบที่นำสารเข้าและออกจากเซลล์ สามารถช่วยในการรักษาระดับอุณหภูมิ
ความเป็นกรด-เบส ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาดุลยภาพของร่างกาย ระบบไหลเวียนโลหิตในสิ่งมีชีวิตแบ่งได้เป็น
3 ประเภท
เรียงตามลำดับจากเรียบง่ายไปจนถึงซับซ้อนที่สุดดังนี้
ส่วนประกอบสำคัญของระบบไหลเวียนโลหิต: หัวใจ,เลือด,และเส้นเลือด ระบบไหลเวียนโลหิตยังรวมไปถึง pulmonary circulation คือ ระหว่างหัวใจและปอด และ systemic circulation คือระหว่างหัวใจและร่างกายของเรา
หัวใจ
หัวใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปทั่วร่างกายโดยผ่านเส้นเลือด หัวใจของมนุษย์แบ่งออกเป็น อ่านต่อ
การขับถ่าย
การขับถ่าย เป็นกระบวนการทาง ชีววิทยา ที่สิ่งมีชีวิตแยกของเสียออกจากร่างกายของมัน
ของเสียจะถูกกำจัดออกจากร่างกายโดยการกำจัด (elimination) ตัวอย่างในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
กระบวนการขับถ่ายคือ การทำให้เกิดปัสสาวะโดยไต และการทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์โดยปอด
ของเสียจะถูกกำจัดโดยการปัสสาวะ และการหายใจ ฮอร์โมนที่ควบคุมการขับถ่ายจะอยู่ใน ดิสตัล ทิวบูล (distal tubules) ของไตโดยการสั่งการของไฮโปทาลามัส (hypothalmus)
การขับเหงื่อ (Perspiration) เป็นกระบวนการขับถ่ายอีกอย่างหนึ่งที่จะจำกัดเกลือและน้ำออกจากร่างกาย
ถึงแม้ว่างานหลักจะทำเพื่อระบายความ อ่านต่อ
วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
การแลกเปลี่ยนแก๊ส
จากถุงลมในปอดเข้าสู่เส้นเลือดฝอยและการที่แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากเส้นเลือดฝอยเข้าสู่
ถุงลมในปอดนั้นเกิดด้วยวิธีการแพร่เนื่องจากทั้งผนังของถุงลมและผนังของเส้นเลือดฝอยนั้น
บางมากคือมีลักษณะเป็นเซลล์เพียงชั้นเดียวการเคลื่อนที่ของออกซิเจนและ
คาร์บอนไดออกไซด์จากถุงลมและเส้นเลือดฝอยนั้นเกิดจากความดันที่ต่างกันระหว่างเลือดกับ
ปอดในปอดมีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์เพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเลือดดำที่ไหลกลับจาก
ร่างกายเข้าปอดซึ่งมีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์มากมายดังนั้นความดันของ
คาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดจึงสูงกว่าความดันคาร์บอนไดออกไซด์ในถุงลมจึงทำให้
คาร์บอนไดออกไซด์แพร่จากอ่านต่อ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)